send link to app

G-RICE


4.8 ( 7488 ratings )
工具
开发 GISTDA
自由

ข้าวหอมมะลิมีแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญคือ ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุม 5 จังหวัด ประกอบ ด้วยจังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์ และศรีสะเกษ มีพื้นที่รวม 2,107,691 ไร่ ซึ่งในแต่ละปีมีผลผลิตข้าวหอมมะลิออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลาจึงมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการผลิตข้าว เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการผลิตให้มีคุณภาพ รวมทั้ง พัฒนาและปรับปรุงปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการผลิตข้าวเช่น ฐานข้อมูลเกษตรกรที่ปลูกข้าวรายแปลง พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูก แหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก รวมทั้งระบบเพื่อการติดตามและบริหารจัดการข้าวที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริม ติดตาม ตัดสินใจ วางแผนการเพาะปลูก และการคาดคะเนผลผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ ตลอดจนให้รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ใช้เป็น เครื่องมือในการกำหนดนโยบาย และให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะที่รับผิดชอบในการนำองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือในการพัฒนาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ด้วย วทน. ขึ้นระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ 5 จังหวัด ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ประกอบด้วย ร้อยเอ็ด ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์ และศรีสะเกษ เพื่อพัฒนาศักยภาพของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาแบบครบวงจรห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำคือการเพาะปลูก จนถึงปลายน้ำ คือ ผลผลิตและการแปรรูป รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ให้ท้องถิ่นในการพัฒนาข้าวหอมมะลิให้มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรมีความ อยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อไป

สทอภ. เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีภารกิจโดยตรงในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ให้เป็นองค์ความรู้ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาและความสำคัญในการบริหารจัดการข้าวเชิง พื้นที่ โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่น ชุมชน นำนวัตกรรมเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการข้าวเชิง พื้นที่ โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยได้พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการข้าวโดยชุมชนขึ้น ในรูปแบบแผนที่ ออนไลน์ (Web Map Service Application) เพื่อให้ท้องถิ่น ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้นำไปใช้เป็นระบบติดตามและบริหาร จัดการข้าวแบบองค์รวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการโครงการ สอดคล้องกับของนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ชุมชนมีความเข็มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเป็น รากฐานที่สำคัญ ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้ง เป็นองค์ความรู้ให้ชุมชน จังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ได้มาเรียนรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้เกิดการความเจริญอย่างยั่งยืน

โครงการบูรณาการความร่วมมือภายใต้
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
“การพัฒนาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม”
ระหว่าง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดมหาสารคาม